สารสกัดจากเมล็ดฟักทอง Pumpkin Seed Extract อุดมด้วยน้ำมันที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย(essential fatty acids, EFAs) ที่ชื่อไฟโตสเตอรอล(Phytosterol) มีองค์ประกอบทางเคมีหลายชนิด มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน สังกะสี เหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม ใยอาหาร วิตามินเอ รวมทั้งสารที่ชื่อว่า "คิวเคอร์บิติน" (cucurbitine) ซึ่มีฤทธิ์ในการฆ่าพยาธิตัวตืดได้ดี
เมล็ดฟักทองสกัด ป้องกันต่อมลูกหมากโต ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้ น้ำมันจากเมล็ดฟักทองยังช่วยบำรุงประสาทได้ดี และยังมีกรดอะมิโนบางชนิดที่ช่วยป้องกันต่อมลูกหมากโต และต่อมลูกหมากอักเสบในผู้ชาย และช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้จากลูกอัณฑะให้อยู่ในระดับปกติ ลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก(prostate cancer) ช่วยให้ระบบขับถ่ายปัสสาวะในผู้ชายดีขึ้น(urination problems) ไม่เข้าห้องน้ำบ่อยในระหว่างการนอนหลับตอนกลางคืน
✿ รักษาโรคต่อมลูกหมากโต
เมล็ดฟักทองอุดมด้วยสังกะสีที่คาดว่ามีส่วนสำคัญต่อการทำงานของต่อมลูกหมาก เนื่องจากมีงานวิจัยบางชิ้นที่คาดว่าโรคนี้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีสังกะสีในเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากลดลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงพบปริมาณสังกะสีในปัสสาวะที่ถูกขับออกมากกว่าปกติ
✿ ป้องกันโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
อีกคุณสมบัติของเมล็ดฟักทองที่คาดว่าอาจมีประโยชน์ งานวิจัยเมื่อนานมาแล้วในเด็กอายุ 2-7 ปี จำนวน 20 คน ถูกแบ่งกลุ่มให้รับประทานอาหารเสริมออกซาเลต 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เมล็ดฟักทองหรืออาหารเสริมออโธฟอสเฟต 60 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และหลังจากการตรวจปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์ค่าต่าง ๆ พบว่าในกลุ่มที่รับประทานเมล็ดฟักทองนั้นแสดงผลลัพธ์ที่ดี และจะยิ่งดีขึ้นแปรผันไปตามระยะเวลาที่รับประทาน
✿ โรคพยาธิตัวตืด
โรคติดเชื้อจากพยาธิตัวตืดในคนบริเวณลำไส้เล็กส่วนบน ซึ่งการรักษานั้นสามารถใช้ยาถ่ายพยาธิอัลเบนดาโซล หรือพลาซิควอนเทล หรืออาจใช้ทั้ง 2 ชนิดควบคู่กัน ทว่ายาถ่ายพยาธิพลาซิควอนเทลนั้น แม้จะมีประสิทธิภาพมาก แต่ก็มีผลข้างเคียงเสี่ยงให้เกิดโรคลมชักได้ การรักษาทางเลือกอย่างการใช้เมล็ดฟักทองจึงได้รับความสนใจมากกว่า
✿ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
เมล็ดฟักทองอาจให้ผลดีต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับระบบปัสสาวะ จึงทำให้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการช่วยบรรเทาอาการปัสสาวะลำบากที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากโรคต่าง ๆ หนึ่งในนั้นก็คือภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ดังงานวิจัยหนึ่งที่เผยผลลัพธ์อันสนับสนุนประโยชน์ข้อนี้ โดยทดสอบกับผู้ป่วยจำนวน 45 คน ปรากฏว่าการรับประทานน้ำมันสกัดจากเมล็ดฟักทอง 10 กรัมต่อวัน ติดต่อกันนาน 12 สัปดาห์ ช่วยลดระดับความรุนแรงของอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดว่าหากในอนาคตมีการศึกษาด้านเดียวกันนี้ออกมายืนยันประสิทธิภาพเพิ่มเติม ผู้ป่วยอาจใช้ประโยชน์ข้อนี้จากน้ำมันเมล็ดฟักทองได้อย่างมั่นใจ
✿ ลดไตรกลีเซอไรด์ในผู้ป่วยโรคไต
การรับประทานเมล็ดฟักทองมีผลดีต่อผู้ป่วยโรคไตจริงอย่างที่กล่าวกันหรือไม่นั้น มีการศึกษาในผู้ป่วยโรคไตวายที่รักษาด้วยการฟอกไตทางเส้นเลือด 30 คน โดยให้เพิ่มการบริโภคเมล็ดฟักทองบด (6 กรัม) เมล็ดงาบด (6 กรัม) และเมล็ดแฟลกซ์ (18 กรัม) เป็นส่วนหนึ่งในอาหารที่รับประทานเป็นประจำ ผลการศึกษาเป็นไปในทางที่ดี ผู้ป่วยมีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ต่ำลง เมล็ดฟักทองช่วยลดโปรตีนที่บ่งบอกถึงการอักเสบของร่างกาย ลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเมื่อมีการติดเชื้อ ทั้งยังส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาล ระดับไขมันในเลือด และอาการคันที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคไต
✿ แก้ปัญหาผมร่วง
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ชิ้นหนึ่งกล่าวว่าน้ำมันจากเมล็ดฟักทองอาจเป็นประโยชน์ต่อชายที่มีปัญหาผมร่วง โดยการรับประทานน้ำมันเมล็ดฟักทองวันละ 400 มิลลิกรัม นาน 24 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก พบการเปลี่ยนแปลงของจำนวนเส้นผมที่เพิ่มขึ้นถึง 40 เปอร์เซ็นต์
✿ เมล็ดฟักทองมีสารต้านอนุมูลอิสระ
เมล็ดฟักทองมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเคโรทีนอยด์ และวิตามินอี ซึ่งสามารถลดการอักเสบ และปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระที่เป็นอันตราย จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการกินอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ จึงสามารถช่วยป้องกันโรคหลายโรคได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า น้ำมันเมล็ดฟักทองสามารถลดการอักเสบในหนูที่เป็นโรคข้ออักเสบ โดยไม่มีผลข้างเคียง
✿ เกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิด
งานวิจัยให้ข้อมูลว่าอาหารที่อุดมไปด้วยเมล็ดฟักทอง เกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การกินเมล็ดฟักท้องเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยง ของโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนด้วย
เมล็ดฟักทองอุดมด้วยสังกะสีที่คาดว่ามีส่วนสำคัญต่อการทำงานของต่อมลูกหมาก เนื่องจากมีงานวิจัยบางชิ้นที่คาดว่าโรคนี้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีสังกะสีในเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากลดลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงพบปริมาณสังกะสีในปัสสาวะที่ถูกขับออกมากกว่าปกติ
อีกหนึ่งงานวิจัยเกี่ยวกับการรับประทานเมล็ดฟักทองในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตจำนวน 47 คน งานวิจัยนี้แบ่งกลุ่มให้ผู้ป่วยรับประทานแป้งมันเทศหวาน น้ำมันเมล็ดฟักทอง น้ำมันผลปาล์มแห้งชนิดหนึ่ง (Saw Palmetto) หรือน้ำมันเมล็ดฟักทองผสมกับน้ำมันผลปาล์มแห้ง ซึ่งผลปรากฏว่าการรับประทานน้ำมันเมล็ดฟักทองและน้ำมันจากผลปาล์มแห้งรวมกันในปริมาณ 320 มิลลิกรัม อาจมีประสิทธิภาพในฐานะทางเลือกหนึ่งของการรักษาอาการจากโรคต่อมลูกหมากโต
อีกคุณสมบัติของเมล็ดฟักทองที่คาดว่าอาจมีประโยชน์ งานวิจัยเมื่อนานมาแล้วในเด็กอายุ 2-7 ปี จำนวน 20 คน ถูกแบ่งกลุ่มให้รับประทานอาหารเสริมออกซาเลต 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เมล็ดฟักทองหรืออาหารเสริมออโธฟอสเฟต 60 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และหลังจากการตรวจปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์ค่าต่าง ๆ พบว่าในกลุ่มที่รับประทานเมล็ดฟักทองนั้นแสดงผลลัพธ์ที่ดี และจะยิ่งดีขึ้นแปรผันไปตามระยะเวลาที่รับประทาน
เมล็ดฟักทองอาจให้ผลดีต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับระบบปัสสาวะ จึงทำให้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการช่วยบรรเทาอาการปัสสาวะลำบากที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากโรคต่าง ๆ หนึ่งในนั้นก็คือภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ดังงานวิจัยหนึ่งที่เผยผลลัพธ์อันสนับสนุนประโยชน์ข้อนี้ โดยทดสอบกับผู้ป่วยจำนวน 45 คน ปรากฏว่าการรับประทานน้ำมันสกัดจากเมล็ดฟักทอง 10 กรัมต่อวัน ติดต่อกันนาน 12 สัปดาห์ ช่วยลดระดับความรุนแรงของอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดว่าหากในอนาคตมีการศึกษาด้านเดียวกันนี้ออกมายืนยันประสิทธิภาพเพิ่มเติม ผู้ป่วยอาจใช้ประโยชน์ข้อนี้จากน้ำมันเมล็ดฟักทองได้อย่างมั่นใจ
✿ ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อมลูกหมากโต (BPH-Benign Prostatic Hyperplasia)
✿ บรรเทาอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะที่เกิดจากโรคต่อมลูกหมากโต
✿ ลดระดับ LDL-cholesterol
✿ ลดการอักเสบจากข้ออักเสบ (Arthritis)
✿ อุดมด้วยเกลือแร่และแร่ธาตุต่างๆ เช่น ฟอสฟอรัส แมงกานีส สังกะสี และเส้นใยอาหาร
ʕ·ᴥ·ʔ แม้เมล็ดฟักทองมีเส้นใยอาหารสูง ช่วยเพิ่มการขับถ่ายและลดอาการท้องผูกในระยะยาว แต่หากรับประทานมากเกินไปอาจส่งผลข้างเคียงให้เกิดแก๊สในกระเพาะและมีอาการท้องอืดหรือหากรับประทานเป็นปริมาณมากในคราวเดียวก็อาจมีอาการท้องผูก
ʕ·ᴥ·ʔ เมล็ดฟักทองมีไขมันและแคลอรี่สูง การรับประทานมากเกินไปอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้