โปรไบโอติก (Probiotics) เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีจำนวนลดลง คือพวกที่ทำให้ท้องอืด ท้องเสีย สร้างสารก่อมะเร็ง สารที่มีกลิ่นเหม็น ฯลฯ ทำให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น จากข้อมูลที่มีเพิ่มขึ้นมากมายในปัจจุบัน สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าโปรไบโอติกซึ่งเป็นจุลชีพมีชีวิตจากธรรมชาติจัดเป็นสารอาหารคุณภาพที่ช่วยป้องกันและรักษาสุขภาพของผู้รับประทานจากโรคต่างๆ ได้มาก
โดยเฉพาะในเด็กหรือผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ช่วยแก้ไขปัญหาภาวะท้องเสียโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ต่างๆ และป้องกันการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ และในอนาคตอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพในด้านอื่นๆ โดยมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์น้อย และราคาไม่แพงจนเกินไป โปรไบโอติกที่ใช้มากในปัจจุบัน คือ Lactobacilli และ Bifido bacteriaปริมาณที่ใช้ในแต่ละโรคจะแตกต่างกันไปตามความจำเป็นซึ่งจะต้องศึกษาให้ละเอียดต่อไป โดยเฉพาะขนาดยาและวิธีการหรือส่วนประกอบที่ใช้เพื่อรักษาโรคที่แตกต่างกัน
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแบ่งประเภทของโปรไบโอติกออกเป็น 3 ลักษณะ
เป็นแบคทีเรียจุลินทรีย์ชนิดดีในกลุ่มของโปรไบโอติกที่พบได้มากที่สุด สามารถพบได้ในอาหารธรรมชาติ เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว อาหารหมักดองบางชนิด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย และเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้
หนึ่งในจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด พบได้ในอาหารที่ทำมาจากนม ช่วยในการบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน และมีการศึกษาในหลายชนิดว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายที่แตกต่างกันออกไป เช่น ช่วยผลิตสารตั้งต้นของภูมิต้านทานในร่างกายได้
เป็นยีสต์ที่พบได้ในกลุ่มของโปรไบโอติก สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร แต่เป็นชนิดที่ไม่มีอยู่ในร่างกายคนตามธรรมชาติ
ประโยชน์ของโปรไบโอติก
ʕ·ᴥ·ʔ ป้องกันและรักษาภาวะท้องเสีย ภาวะท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียมักพบได้บ่อยทั้งในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ หรือผู้ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ในสถานพักพื้น อาการท้องเสีย เป็นความทรมานของร่างกายที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กเล็กผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหาร (ท้องเสียเรื้อรัง) ในต่างประเทศมีการวิจัยวิธีแก้ปัญหานี้โดยแพทย์ได้นำเอาโปรไบโอติก (Probiotic) ในกลุ่มแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) มาใช้ป้องกันภาวะท้องเสียในเด็กขาดอาหารโดยเฉพาะเด็กที่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ ซึ่งผลลัพธ์พบว่าสามารถป้องกันได้ และยังลดระยะเวลา รวมถึงความรุนแรงของอาการท้องเสียที่เกิดจากภาวะอาหารเป็นพิษ และได้ผลดีมากในกลุ่มที่เกิดอาการท้องเสียจากเชื้อไวรัสโรต้า
ʕ·ᴥ·ʔ รักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โปรไบโอติกโดยเฉพาะ Lactobacillus GG ช่วยลดภาวะอักเสบของลำไส้ โดยการปรับสภาพภูมิคุ้มกัน ทำให้มีระดับ Ig Aที่ลดลงในช่วงโรคกำเริบกลับสู่ภาวะปกติทำให้เยื่อบุลำไส้หลั่งสารพิษออกมาน้อยลง นอกจากนี้ยังช่วยปรับลดปริมาณจุลชีพในลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุการอักเสบ ทำให้ช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี
ʕ·ᴥ·ʔ รักษาโรคลำไส้ขาดเลือดในเด็ก พบในเด็กคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยจากการขาดออกซิเจนเลี้ยงลำไส้และติดเชื้อแบคทีเรีย
ʕ·ᴥ·ʔ เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย การให้โปรไบโอติกแก่เด็ก จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อได้ดี โดยเฉพาะป้องกันภาวะท้องเสีย หรือการติดเชื้อในช่องท้อง แม้ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ในกลุ่มเด็กที่ติดเชื้อ HIV นอกจากนี้สามารถลดการติดเชื้อในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ในปอด โดยการเพิ่มภูมิคุ้มกันทั้งในลำไส้และในกระแสโลหิต ลดการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด
ʕ·ᴥ·ʔ ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่มีส่วนในการก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการสร้างสารก่อมะเร็ง หรือเป็นตัวร่วมในการก่อมะเร็ง โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารประเภทไขมันและเนื้อจำนวนมาก โดยไม่รับประทานผักและผลไม้ เป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่ กลุ่มโปรไบโอติกจะช่วยเปลี่ยนสภาพแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดสารพิษเหล่านี้
ʕ·ᴥ·ʔ รักษาช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา ในผู้ป่วยที่มีการอักเสบของช่องคลอดจากเชื้อราซ้ำซาก พบว่าสามารถทำให้โรคหายได้ดีเมื่อให้ Lactobaccillus acidophilus จะช่วยป้องกันให้เชื้อราในช่องคลอดลดน้อยลง นอกจากนี้อาจช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
ʕ·ᴥ·ʔ ลดระดับไขมันในกระแสเลือด โปรไบโอติกอาจช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้บ้าง ถ้าหากรับประทานในปริมาณมาก แต่ถ้าใช้ขนาดปกติ อาจจะเห็นผลไม่ชัดเจน
ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ปัญหาสุขภาพระบบทางเดินอาหารที่นับวันคนไทยจะเป็นมากขึ้น มีการศึกษาเก็บสถิติพบว่า 24% ของคนไทยคิดว่าตัวเองมีปัญหาท้องผูก และมี 8% ที่พบปัญหาในการเบ่งอุจจาระลำบาก และอีก 3% มีปัญหาถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ฉะนั้นการได้รับโปรไบโอตติก (Probiotic) อย่างเพียงพอสามารถช่วยลดอาการท้องผูกได้
ดังนั้นการสร้างสภาวะความสมดุลระหว่าง normal flora และร่างกายนั้นจึงมีความสำคัญ ซึ่งการรับประทานโพรไบโอติกส์จึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีและรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย
ในปัจจุบันโพรไบโอติกส์ที่เราพบเห็นกันได้ในท้องตลาดมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบผงแป้ง (Powders), รูปแบบแคปซูล (Capsules), รูปแบบยาเม็ดเคี้ยว (Chewable tablets), รูปแบบสารละลาย(Solution drops) หรือรูปแบบยาเหน็บช่องคลอด (Vaginal Tablets) โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีวีธีการเก็บรักษาและประกอบไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเชื้อที่พบเห็นได้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้
✿ เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ กลุ่ม Lactobacillus spp. เป็นแบคทีเรียที่เกาะติดลำไส้และ Bifidobacterium spp. เป็นแบคทีเรียที่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร สามารถอยู่ในลำไส้ได้นาน เช่น Bifidobacterium longum, Bifidobacterium bifidum, Lactobacillus acidophilus, Bifidobacterium infantis, Lactobacillus casei subsps, และ Lactococcus lactis เป็นต้น
✿ เชื้อยีสต์ เช่น Saccharomyces boulardii เป็นต้น