เครื่องพ่นยา (Portable Phlegm Nebulizer)
เครื่องพ่นยา (Portable Phlegm Nebulizer) หรือเครื่องพ่นละอองยาไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจอย่างโรคหอบหืดหรือโรคอื่น ๆ นอกจากช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ทางเดินหายใจและช่วยขับเสมหะ ยังมีคุณสมบัติเปลี่ยนยาน้ำให้กลายเป็นละอองฝอยเล็ก ๆ เพื่อให้ยาเข้าสู่ทางเดินหายใจโดยตรง ซึ่งอาจช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้เต็มที่ และใช้เวลาในการออกฤทธิ์เร็วกว่าการให้ยาด้วยวิธีอื่น ขณะที่ส่งผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเครื่องมือที่ผู้ป่วยนิยมใช้ อีกทั้งในปัจจุบัน อุปกรณ์นี้ยังถูกปรับโฉมให้มีขนาดเล็กและเบาลงจนสามารถพกพาไปใช้ตามสถานที่ต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น โดยเครื่องพ่นยาชนิดนี้จะใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่เเพทย์มักแนะนำให้ใช้กับทารก เด็กเล็ก หรือผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในภาวะที่สามารถกำหนดลมหายใจได้ด้วยตนเอง รวมถึงผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยาพ่นในปริมาณมากด้วย
เครื่องพ่นยาประกอบด้วยอะไรบ้าง
เครื่องพ่นยา หรือ เครื่องพ่นละอองยา ประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก คือ ตัวเครื่องพ่นยา กระเปาะยา หน้ากากหรือท่อหายใจ และท่ออากาศ นอกจากนี้ ยังมีตัวยาที่ทางแพทย์และผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้ซึ่งความถี่และระยะเวลาในการสูดดมยาที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์เป็นหลัก ผู้ใช้จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
วิธีการใช้งานเครื่องพ่นยาที่ปลอดภัย
- 1. แน่นอนว่าก่อนเริ่มการพ่นยานั้น ต้องล้างมือให้สะอาดเริ่มจากล้างมือด้วยสบู่ในน้ำสะอาดที่ไหลจากก๊อกประมาณ 20 วินาที จากนั้นล้างออกให้สะอาดแล้วใช้กระดาษเช็ดให้แห้ง
- 2. เทยาใส่ถ้วย nebulizer ของเครื่องพ่นยาในปริมาณที่แพทย์แนะนำสำหรับการพ่นยา 1 ครั้ง จากนั้นปิดฝาให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้ยาหกอย่าลืมเสียบปลั๊กก่อนใช้งาน
- 3. ประกอบท่อพ่นยาหรือหน้ากากพ่นยาเข้ากับถ้วย nebulizer ต่อสายด้านหนึ่งเข้ากับถ้วย nebulizer จากนั้นให้คุณต่อปลายอีกด้านกับตัวเครื่อง
- 4. เปิดเครื่อง อมท่อพ่นยาเข้าไปให้อยู่เหนือลิ้น จากนั้นปิดปากให้สนิทสูดยาเข้าไปช้าๆ ลึกๆ ถ้าเป็นเด็กหรือคนป่วยหนักใช้หน้ากากจะเหมาะกว่า
- 5. สูดยาเข้าไปเรื่อยๆ นั่งหลังตรงและหายใจเอายาเข้าไปเรื่อยๆ จนหมดละออง ปกติจะใช้เวลาประมาณ 10 – 15 นาที พอยาหมดแล้วละอองก็จะหยุดพ่น ดูให้แน่ใจว่าถ้วย nebulizer ว่างเปล่าแล้ว ระหว่างนั้นให้ดูทีวีหรือฟังเพลงฆ่าเวลาไปพลางๆ
- 6. ปิดเครื่องพ่นยาทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ และอย่าลืมทำความสะอาด อย่าลืมถอดปลั๊กแล้วถอดสายต่อและแยกถ้วยยากับท่อพ่นหรือหน้ากากล้างถ้วยยากับท่อพ่นด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ จากนั้นล้างน้ำให้สะอาดเอาอุปกรณ์ไปผึ่งลมให้แห้งบนผ้าขนหนูเป็นขั้นตอนที่ต้องทำทุกครั้งหลังพ่นยาเสร็จ ไม่ต้องล้างสายต่อเพราะถ้าสายเปียกต้องเปลี่ยนใหม่
วิธีการเบื้อนต้นสำหรับการ สูดยาผ่านอุปกรณ์พ่นยา
(ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์พ่นยาอาจแตกต่างกันเล็กน้อย)
❀ เปิดฝาครอบอุปกรณ์ออก
❀ หายใจออกทางปากจนสุด ระวังอย่าให้ลมหายใจเข้าไปในตัวเครื่อง จากนั้นอมอุปกรณ์พ่นยาให้สนิท
❀ หายใจเข้าทางปาก นำกระบอกพ่นยาออกจากปาก กลั้นหายใจ 5-10 วินาที หายใจออกตามปกติ
❀ ทำความสะอาดปากอุปกรณ์ และปิดฝาให้สนิทหลังใช้งานเสร็จแล้ว
❀ บ้วนปากทุกครั้งหลังใช้ยา (กรณีที่ยาพ่นมีส่วนผสมของสเตียรอยด์) เพื่อป้องกันอาการเสียงแหบ คอแห้ง หรือการเกิดเชื้อราในช่องปาก
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรใช้ยาภายใต้คำสั่งของแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาเภสัชกรทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยารักษาเอง เพราะยาพ่นบางชนิดอาจมีส่วนผสมของของสเตียรอยด์ ทั้งยังมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกให้ยาแก่ผู้ป่วยอีกหลายประการ เช่น โรคประจำตัว อายุของผู้ป่วย ประวัติแพ้ยาบางชนิด ฉะนั้นแล้ว การใช้ยา
รู้จักอุปกรณ์พ่นยา ที่ใช้รักษาโรคระบบหายใจ
อุปกรณ์พ่นยาของตัวยาแต่ละชนิด อาจมีความแตกต่างกันตามแต่ที่บริษัทผู้ผลิตได้ทำการคิดค้นมา แต่เราสามารถจัดกลุ่มอุปกรณ์พ่นยาแบ่งตามรูปแบบของยาที่บรรจุอยู่ภายในและลักษณะของยาที่ถูกนำส่งออกมาจากอุปกรณ์ได้ดังนี้
- ❀ อุปกรณ์พ่นยาที่นำส่งยาในรูปแบบของ Soft mist™ หรือ หมอก คือ Respimat® การสูดยาตัวนี้จะสูดเข้าทางปาก โดยอาศัยแรงสูดที่ช้า และลึก
- ❀ อุปกรณ์พ่นยาที่นำส่งยาในรูปแบบของสารละลาย แต่เมื่อกดที่อุปกรณ์ตัวยาจะถูกปลดปล่อยออกมาในรูปแบบละอองฝอย คือ Pressurized Metered Dose Inhaler (pMDIs) ควรเขย่าอุปกรณ์นี้ในแนวขึ้นลงก่อนสูด 5-10 ครั้ง การสูดยาตัวนี้จะสูดเข้าทางปาก โดยอาศัยแรงสูดที่ช้า และลึก
- ❀ อุปกรณ์พ่นยาที่นำส่งยาในรูปแบบของผงแห้ง ละเอียดเล็ก มี 3 ชนิด คือ Easy haler®, Turbuhaler® และ Accuhaler ® การสูดยาตัวนี้จะสูดเข้าทางปาก โดยอาศัยแรงสูดที่ เร็ว แรง และลึก
- ❀ อุปกรณ์พ่นยาที่นำส่งยาในรูปแบบของผงแห้ง ละเอียดเล็ก ซึ่งบรรจุอยู่ในตัวแคปซูล มี 2 ชนิด คือ Beezhaler® และ Handihaler® ก่อนใช้อุปกรณ์จะต้องทำการบรรจุเม็ดแคปซูลยาลงในอุปกรณ์ และทำการกดที่อุปกรณ์เพื่อเจาะเม็ดแคปซูลยา จึงจะพร้อมสูดยาได้ การสูดยาตัวนี้จะสูดเข้าทางปาก โดยอาศัยแรงสูดที่ เร็ว แรง และลึก
- ❀ อุปกรณ์กักเก็บยา ใช้กรณีผู้ป่วยมีการหายใจไม่สัมพันธ์กับการกดอุปกรณ์พ่นยากับอุปกรณ์พ่นยาชนิด มี 2 ชนิด คือ AeroChamber® และ Spacer® อุปกรณ์นี้จะช่วยในการส่งยาเข้าสู่ปอดได้ง่ายขึ้น ทั่วไปมักมีลักษณะเป็นกระบอกแนวยาว หรือรูปกรวยโดยต่อตัวอุปกรณ์ช่วยเข้ากับอุปกรณ์พ่นยาในข้างต้นด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งอาจเป็นท่อให้ใช้ปากอมเพื่อสูดยา หรือมีลักษณะเป็นหน้ากากครอบจมูกและปาก อุปกรณ์กักเก็บยาชนิดที่เป็นหน้ากากให้ผู้ป่วยครอบหน้ากากบริเวณจมูกและปาก และหายใจตามปกตินาน 10-15 วินาที กรณีเด็กเล็กแนะนำให้หายใจเข้าออก 3-4 ครั้ง ต่อการกดยา 1 ครั้ง
BACK