ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือดของคนไทย เราจึงไม่ควรละเลยที่จะดูแลสุขภาพหัวใจของเราเองให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ก็เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่ง เกิดจากอาหารที่เรารับประทานและจากการสร้างขึ้นเองในร่างกาย อาหารที่มีไตรกลีเซอไรด์ ได้แก่ น้ำมันจากสัตว์ชนิดต่างๆ ผู้ที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงมากๆ จะทำให้ตับอ่อนอักเสบและมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้มาก
โดยปกติร่างกายคนเราจะมีไขมันอยู่ 2 ชนิด คือ
1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
คอเลสเตอรอล อาจมีระดับสูงขึ้นจากอาหารที่รับประทาน เช่น อาหารหวาน มัน เค็ม เนื้อสัตว์ติดมัน และอาหารทะเล โดยเฉพาะไขมันทรานส์ พบได้ในขนมอบ ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม ในผู้ป่วยบางรายอามีระดับคลอเลสเตอรอลสูงจากกรรมพันธุ์ คอเลสเตอรอล แบ่งเป็น
★ ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือไขมันชนิดที่ไม่ดี เป็นชนิดอันตราย เพราะเป็นคอเลสเตอรอลที่ไปสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบและแข็ง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และหลอดเลือดสมองตีบ
★ ชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) หรือไขมันชนิดที่ดี ทำหน้าที่ขจัดไขมันอันตรายไปจากกระแสเลือด ต่อต้านการสะสมผิดที่ของไขมันและคลอเลสเตอรอล ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ HDL ยิ่งสูงยิ่งดีต่อร่างกาย
2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ไตรกลีเซอไรด์ อาจมีระดับสูงขึ้นจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน การดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมน สเตียรอยด์ เป็นต้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงจากกรรมพันธุ์เช่นกัน
เมื่อใดที่ร่างกายมีไขมันมากเกินไป ไขมันจะไปเกาะตามผนังด้านในของหลอดเลือด ถ้าไขมันสูงมากจะมีผลทำให้หลอดเลือดตีบ เลือดไหลเวียนไม่สะดวก โดยเฉพาะบริเวณขา ทำให้เดินแล้วปวดน่อง และอาจส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ เกิดโรคหัวใจขาดเลือด หรืออาจทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เกิดเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต โดยเฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่ ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ อัมพฤกษ์อัมพาต มากขึ้น
★ โคเลสเตอรอลรวม น้อยกว่า 200 มก./ดล.
★ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (LDL) น้อยกว่า 130 มก./ดล.
★ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL) มากกว่า 40 มก./ดล.
★ ไตรกลีเซอไรด์ น้อยกว่า 130 มก./ดล.
★ ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายเผาผลาญทำลายไขมันลดลง
★ การใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย โรคไต เป็นต้น
★ การรับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ
● การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก อาหารทอดที่อมน้ำมัน
● รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบที่มีน้ำตาลมาก
● รับประทานอาหารเกินความจำเป็นของร่างกายใน 1 วัน
★ การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากและเป็นประจำ
ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงผิดปกติ เกิดจากการกินอาหารไม่ถูกสัดส่วน ได้รับพลังงานหรือแคลอรีมากเกินไป กินอาหารที่มีไขมันหรือขนมหวานในปริมาณมาก ทำให้ร่างกายสร้างไตรกลีเซอไรด์แล้วขับเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็จะไปกระตุ้นตับให้ผลิตไตรกลีเซอไรด์มากขึ้นเช่นกัน
★ งดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต คือแป้ง และ น้ำตาล เพราะว่าถ้าร่างกายใช้งานไม่หมด ร่างกายก็จะคาร์โบไฮเดรตเปลี่ยนไปเป็นไตรกลีเซอไรด์ได้
★ ออกกำลังกาย ทำให้เราแข็งแรงและจัดการกับพลังงานที่เหลือใช้ได้ดี ทำให้ไม่มีเหลือพอที่จะนำไปสร้างไตรกลีเซอไรด์ได้
★ งดการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะรบกวนการทำงานของตับ โดยตับต้องมาทำหน้าที่กำจัดของเสียจากแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย ทำให้ตับทำหน้าที่ที่เหลือคือกำจัดไขมันส่วนเกินออกไปได้ไม่เต็มที่ สุดท้ายไขมันส่วนที่เหลือก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นไตรกลีเซอไรด์นั่นเอง
★ รับประทานไขมัน โอเมก้า-3 (Omega-3) ที่ประกอบด้วย EPA และ DHA ในรูปของปลาที่มีไขมันสูง, น้ำมันปลาชนิดแคปซูล และอาหารหรือเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยโอเมก้า-3 และ 9
★ เลี่ยงอาหารที่ผ่านการอบหรือทอด ที่มักจะมีไขมันชนิดทรานส์ (Trans’ fat) เป็นส่วนประกอบ เพราะไขมันชนิดนี้จะทำให้โคเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) สูงขึ้นและคอเลสเตอรอลตัวดี (HDL) ลดลง
★ เลี่ยงไขมันอิ่มตัวที่มักพบในเนื้อสัตว์ เพราะจะเพิ่มคอเลสเตอรอลตัวร้าย
★ ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน หรืออย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย เพื่อหัวใจแข็งแรง ควบคุมน้ำหนักตัว และระดับคอเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) ในเลือดได้ดี
★ รับประทานอาหารเสริม ที่มีส่วนผสมของ แพลนท์สเตอรอล ซึ่งเป็นสารธรรมขาติที่เป็นส่วนประกอบของพืช พบมากในถั่วเมล็ดแห้ง, เมล็ดธัญพืช และน้ำมันที่ได้จากพืช มีคุณสมบัติยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่กระแสเลือด