วิตามินบี3-ไนอาซิน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าไนอะซิน (Niacin) หรือกรดนิโคตินิก (Nicotinic acid) เป็นสารที่พบได้ตามธรรมชาติทั้งในพืชและสัตว์ หรือสังเคราะห์ขึ้นในรูปแบบอาหารเสริม เช่น วิตามินรวมและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ นำมาใช้ป้องกันและรักษาภาวะขาดวิตามินบี 3 ลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจจากภาวะคอเลสเตอรอลสูงและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ หรืออาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ตามดุลยพินิจของแพทย์
วิตามินบี 3 เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ และเป็นหนึ่งในสมาชิกของครบครัวบีรวม มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก.) ร่างกายสามารถสร้างไนอะซินขึ้นเองได้โดยใช้กรดแอมิโนทริปโตแฟน ผู้ที่ร่างกายขาดวิตามินบี1 บี2 และบี6 จะไม่สามารถสร้างไนอะซินจากทริปโตแฟนได้ การขาดไนอะซินส่งผลให้บุคลิกภาพเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงได้
♥ ปลา เนื้อไม่ติดมัน
♥ ผลิตภัณฑ์โฮลวีต บริเวอร์ยีสต์
♥ ตับ จมูกข้าวสาลี ไข่ ถั่วลิสงคั่ว
♥ เนื้อขาวจากพวกสัตว์ปีก
♥ อะโวคาโด อินทผลัม มะเดื่อฝรั่ง ลูกพรุน
อาการทางผิวหนังมักจะเป็นทั้งสองข้าง แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ
อาการทางระบบทางเดินอาหาร อาการแรกๆจะมีอาการแสบร้อนคอ ท้องอืดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน และอาจจะถ่ายอุจาระมีเลือดออกอาการทางระบบประสาท
อาการทางระบบประสาท ประกอบไปด้วย เป็นโรคจิตเภท ความจำเลอะเลือน สับสน ซึมเศร้า วุ่นวาย โกหกตอแหละมีความพิการทางสมองทำให้ผู้ป่วยซึม มือเกร็ง
คำแนะนำในการใช้วิตามินบี3-ไนอาซิน
ผู้ใหญ่ รับประทานปริมาณ 100-150 มิลลิกรัม 3-5 ครั้ง/วัน หากเป็นยาเม็ดชนิดออกฤทธิ์นาน รับประทานปริมาณ 300-400 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง
รักษาภาวะไขมันในเลือดสูง
ผู้ใหญ่ รับประทานปริมาณเริ่มต้น 250 มิลลิกรัม/วัน ในมื้อเย็น และเพิ่มปริมาณยาทุก 4-7 วัน จนกว่าระดับไขมันชนิดไม่ดีหรือไขมันไตรกลีเซอไรด์จะลดลงในระดับที่ต้องการ หรือเพิ่มปริมาณจนถึง 1.5-2 กรัม/วัน หากผ่านไป 2 เดือนแล้วยังไม่ได้ผลดีพอ สามารถเพิ่มปริมาณเป็นครั้งละ 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง ในช่วงเวลา 2-4 สัปดาห์ ปริมาณสูงสุดไม่เกิน 6 กรัม/วัน
ส่วนยาเม็ดชนิดออกฤทธิ์นาน รับประทานปริมาณเริ่มต้น 500 มิลลิกรัม ก่อนนอน และค่อย ๆ เพิ่มเป็นปริมาณปกติ คือ 1-2 กรัม ก่อนนอน
รักษาสิวอักเสบปานกลางจนถึงรุนแรง
ผู้ใหญ่ ใช้เจลความเข้มข้น 4 เปอร์เซ็นต์ ทาบริเวณที่เป็นสิว
ผลข้างเคียงจากการใช้วิตามินบี3-ไนอาซิน
วิตามินบี 3 อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่ เวียนศีรษะ คัน ผิวแห้ง มีรอยแดง เหงื่อออกมาก หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้องอืด ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ ตะคริว นอนไม่หลับ เป็นต้น หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือแย่ลง ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
ข้อควรระวังในการใช้วิตามินบี3-ไนอาซิน
ผู้ที่มีประวัติแพ้วิตามินบี 3 หรือเป็นโรคตับชนิดรุนแรง มีแผลหรือมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ไม่ควรใช้อาหารเสริมชนิดนี้
แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้วิตามินบี 3 หากเป็นโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน แผลในกระเพาะอาหาร เก๊าท์ หรือโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น
แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่กำลังใช้ทุกชนิด เพราะยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับวิตามินบี 3 และก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ยาอะโทรวาสแตติน ยาโลวาสแตติน ยาซิมวาสแตติน เป็นต้น
ระหว่างที่ใช้วิตามินบี 3 ควรหลีกเลี่ยงการลุกขึ้นจากท่านั่งหรือท่านอนเร็วเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ
หลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไขมันคอเลสทิพอลหรือยาคอเลสไทรามีนในเวลาเดียวกันกับวิตามินบี 3 ควรใช้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ห่างกันอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ก่อนหรือหลังใช้วิตามินบี 3
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มร้อนในทันทีหลังจากใช้วิตามินบี 3 เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คัน แดง รู้สึกอุ่น หรือรู้สึกเจ็บคล้ายเข็มทิ่มตามผิวหนัง
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างใช้วิตามินบี 3 เพราะอาจเสี่ยงทำให้ตับเกิดความเสียหายและเกิดผลข้างเคียงจากการใช้มากขึ้น
ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือวางแผนมีบุตรควรปรึกษาแพทย์ถึงข้อดีและข้อเสียของการใช้วิตามินบี 3
แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้วิตามินบี 3 หากกำลังให้นมบุตร เพราะวิตามินบี 3 สามารถซึมผ่านน้ำนมมารดาและอาจเป็นอันตรายต่อทารกได้