N-Acetylcysteine (เอ็นอะเซทิลซีสเตอีน) คือ ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ ใช้รักษาอาการป่วยจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายที่ตับ และรักษาภาวะอาการที่เกิดมูกเหลวเหนียวข้นขึ้นจนเกิดปัญหาการหายใจ จากภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง ปอดบวม ปอดอักเสบ เป็นต้น โดยยาจะช่วยสลายมูกเหนียวข้นให้เจือจางลง เพื่อให้ระบบทางเดินหายใจขับมูกเสมหะเหล่านั้นออกมาได้ และช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้นในที่สุด
N-Acetyl Cysteine NAC มีคุณสมบัติในการต้านพิษในร่างกาย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้กระบวนการควบคุมสารอนุมูลอิสระในร่างกายมีความสมดุลและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
มีฤทธิ์ละลายเสมหะ การอักเสบของทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อ (เช่น แบคทีเรีย, ไวรัส หรือจุลชีพอื่นๆ) หรือไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (เช่น การอักเสบจากภูมิแพ้ หรือการระคายเคืองเรื้อรัง) NAC ออกฤทธิ์ละลายเสมหะ โดยทำให้มูกเหลวตัว ร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น
เพราะในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในการใช้ยาตัวนี้ในการรักษาโรคหรือภาวะทางสุขภาพ ในกรณีดังต่อไปนี้
ในการรักษานี้ ตัวยา NAC จะทำหน้าที่ลดความรุนแรงของพิษที่อาจทำลายเซลล์ตับ โดยจะเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ กลูตาไธโอน ขึ้นมาเพิ่มเพื่อชดเชยกลูตาไธโอนที่ใช้หมดไปในกระบวนการกำจัดยาพาราเซตามอลส่วนเกินที่เป็นพิษต่อตับ การรักษามักใช้ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และยารับประทาน
ภาวะไตอักเสบจากสารทึบรังสี คือการบาดเจ็บของไตที่เกิดขึ้นภายหลังการได้รับสารทึบรังสีทางหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากระบบไหลเวียนเลือดบริเวณไตลดลง ทำให้เนื้อเยื่อในไตบาดเจ็บเพราะขาดอ็อกซิเจน บทบาทของ NAC ในที่นี้คือ การขยายหลอดเลือดบริเวณไตเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงเซลล์ รวมทั้งยังสามารถป้องกันการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณไตได้อีกด้วย
ยานี้ลดความเหนียวข้นของเสมหะในผู้ป่วยได้ดี รวมทั้งช่วยขับเสมหะในปอดด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถลดการสะสมของเสมหะ ลดการกระตุ้นการสร้างเมือกในทางเดินหายใจ ดังนั้น จึงสามารถป้องกันภาวะการหลั่งเมือกออกมามากกว่าปกติได้นั่นเอง จึงสามารถรักษาอาการของผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิส และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากการทดลองทางการแพทย์พบว่ายานี้สามารถป้องกันการทำลายประสาทหูจากยาซิสพลาติน (Cisplatin) ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งแบบเคมีบำบัดได้
จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่าการมีปริมาณกลูตาไธโอนบกพร่องสัมพันธ์กับการเกิดโรคความผิดปกติทางสมองต่างๆ จึงมีการนำคุณสมบัติในการช่วยสร้างกลูตาไธโอนมาใช้ในผู้ป่วยโรคความผิดปรกติทางสมองอย่างกว้างขวาง เช่น โรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน
ผู้ป่วยต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง 5-10 วัน หรือ ตามที่แพทย์กำหนด
แคปซูล
ผู้ใหญ่ และเด็กอายุมากกว่า 14 ปี รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล 2-3 ครั้ง/วัน
เด็กอายุมากกว่า 6 ปี รับประทานยาหลังมื้ออาหาร ครั้งละ 1 แคปซูล 2 ครั้ง/วัน
ยาผง
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 ซอง (200 มิลลิกรัม) 2-3 ครั้ง/วัน
เด็กอายุมากกว่า 6 ปี รับประทานครั้งละ 1 ซอง (100 มิลลิกรัม) 2-4 ครั้ง/วัน
ยาน้ำ
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 10 มิลลิลิตร 2-3 ครั้ง/วัน
เด็ก รับประทานครั้งละ 5 มิลลิลิตร 2-4 ครั้ง/วัน
เด็กอายุมากกว่า 4 ปี รับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัม/วัน
เด็กอายุ 2-4 ปี รับประทานครั้งละ 200 มิลลิกรัม/วัน
เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี รับประทานครั้งละ 100 มิลลิกรัม/วัน
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Acetylcysteine
ผู้ป่วยจำนวนมากไม่ได้เผชิญกับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้ Acetylcysteine แต่อย่างใด หรืออาจพบผลข้างเคียงจากการใช้ยาเพียงเล็กน้อย โดยอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยานี้ที่อาจพบ ได้แก่ เป็นหวัด น้ำมูกไหล ผิวหนังเนื้อตัวเย็นชืด ง่วงนอน มีไข้ มีอาการอักเสบระคายเคืองบริเวณปาก หรือ ลิ้น คลื่นไส้ อาเจียน