ท้องผูก (Constipation) เป็นภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระลาบากต้องออกแรงเบ่งมากกว่าปกติหรืออาจเบ่งแล้วแต่ไม่ออก เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีกากน้อยและไม่ออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการทางานของลาไส้หรือมีโรคที่ลำไส้ เช่น ลาไส้ตีบ โรคมะเร็ง หรือสาเหตุมาจากโรคหรือความผิดปกติที่อื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับลาไส้ เช่น ภาวะแคลเซียมในเลือดผิดปกติ ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่า ภาวะพาราไทรอยด์ฮอร์โมนสูง โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน
สังเกตอาการเมื่อสงสัยว่าตนเองท้องผูก เมื่อมีอาการอย่างน้อย 2 ใน 6 อาการต่อไปนี้ แสดงว่าตัวคุณอาจมีอาการท้องผูก แนะนำให้ปรับพฤติกรรมและปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อดำเนินการรักษาต่อไป
1.รับประทานอาหารที่มีกาก + เส้นใยน้อย
โดยปกติคนเราควรรับประทานอาหารที่กากหรือเส้นใยประมาณ 20-25 กรัม/วัน แต่เนื่องจากอาหารในปัจจุบันมักได้รับการปรุงแต่งจนกระทั้งมีเส้นใยน้อยมาก คนส่วนใหญ่รับประทานข้าวขัดขาว ไม่รับประทานข้าวกล้อง
2. ความเครียด
เนื่องจากในโลกปัจจุบันมีการแก่งแย้งมากขึ้น จากสภาวะแวดล้อมและสังคมที่เปลี่ยนไปความเครียดมีมากขึ้น ทำให้ระบบการกินอยู่ หลับนอนและระบบการขับถ่ายแปรปรวนไปด้วย
3. การกลั้นอุจจาระเป็นอาจิณ
คนเราถ้าจะทำให้สุขภาพดี ควรรับประทานอาหารเป็นเวลา ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะถ่ายตอนเช้า หลังจากร่างกายได้นอนหลับพักผ่อนมาระยะหนึ่ง แต่เนื่องจากชีวิตที่เร่งรีบออกจากบ้านไปทำงาน ก็มักจะกลั้นอุจจาระเอาไว้ เมื่อทำบ่อยเข้า ความรู้สึกอยากถ่ายก็จะหายไป ท้องผูกก็จะเข้ามาแทนที่ กลไกของการขับถ่ายก็จะเพี้ยนไป
4. ไม่ออกกำลังกาย
ในชีวิตประจำวันของคนสมัยใหม่ มักจะใช้เครื่องผ่อนแรงมากเกินไป ไปไหนมาไหนนั่งรถยนต์ขึ้นลิฟท์หรือบันไดเลื่อน แม้กระทั้งขับรถก็ยังใช้เกียร์อัตโนมัติ แล้วไม่ค่อยออกกำลังกาย วันหนึ่งนั่งหน้าจอ Computer เพราะฉะนั้นระบบเผาผลาญอาหารจึงน้อยลง
ร่างกายต้องการพลังงานน้อยลงไป ระบบย่อยและขับถ่ายก็พลอยเฉื่อยเนือยไปด้วย ลำใส้ของเรามีการเคลื่อนไหวตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย ใครเดินมากไม่อยู่นิ่งลำใส้ก็จะเคลื่อนตามทำให้ท้องไม่ผูก ตรงข้ามกับคนแก่ที่นั่งๆนอนๆ ไม่ค่อยจะได้เคลื่อนไหว ลำใส้ก็จะนิ่งไม่ขยับ ส่งผลให้ท้องผูก
5.ยาบางชนิด
ยาระงับปวด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มยาระงับปวดที่เป็นสารเสพติด), ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียมและแคลเซียม, ยารักษาความดันโลหิตสูงบางชนิด (ยากลุ่มยับยั้งแคลเซียม), ยารักษาโรคพาร์กินสัน, ยาต้านปวดเกร็ง, ยาต้านซึมเศร้า, ยาบารุงที่มีธาตุเหล็ก, ยาขับปัสสาวะ, ยาต้านการชัก
6.การเปลี่ยนแปลงในชีวิตหรือกิจวัตร เช่น การตั้งครรภ์ อายุมาก การเดินทางท่องเที่ยว
ท้องผูกส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจ หลายคนรู้สึกเครียด เบื่ออาหาร ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า ปวดหัว ปวดหลัง และแสบร้อนบริเวณหน้าอก ไม่เพียงเท่านั้นการออกแรงเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นประจำยังก่อให้เกิดผลร้ายตามมามากมาย เช่น
รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง โดยเฉพาะผักและผลไม้สด ธัญพืชหรือเติมสารเพิ่มปริมาณ (Bulking Agents) ในอาหารที่รับประทาน เช่น ราข้าวสาลี เพื่อช่วยให้อุจจาระมีความอ่อนตัวมากขึ้นและง่ายต่อการขับถ่าย
ดื่มน้าอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะการขาดน้าและไม่ทาให้อุจจาระแข็งจนเกินไป
ออกกาลังกายด้วยการเดินเป็นระยะเวลา 10-15 นาที วันละหลายๆ ครั้ง เพื่อฝึกกล้ามเนื้อให้ทางานได้เป็นปกติ
ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน ไม่ควรมีการอั้นอุจจาระหรือรีบร้อนในการขับถ่าย
ไม่ควรใช้ยาระบายติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์และควรมีการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
การใช้ Probiotics ซึ่งเป็นจุลินทรย์ที่มีประโยชน์ต่อทางเดินอาหาร ช่วยทาให้การทางานของระบบขับถ่ายเป็นปกติ
การรักษาด้วยการใช้ยา
เมื่อการปรับพฤติกรรมในข้างต้นยังไม่ช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น การรับประทานยาจะช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระทาได้ง่ายขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายชนิดด้วยกันตามการออกฤทธิ์และควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา เช่น ไฟเบอร์, แล็กทูโลส (lactulose), Milk of Magnesia, Dulcolax, Senokot เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อทางเดินอาหาร
1.จุสินทรีย์ดีที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ (Probiotic และอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ดี (Prebiotic) เช่น จุสินทรีย์ในตระกูล Lactobacillus sp. หรือตระกูล Bifidobacterium sp. ซึ่งจะช่วยเกื้อกูลจุสินทรีย์ดีและทำลายเชื้อก่อโรคในลำไส้ ปรับสมดุลลำไส้ลดภกวะท้องผู้กหรือท้องเสียเรื้อรังได้ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบไปด้วยสาร Fructooligosaccharides (FOS) และ Xylo-0ligosaccharides (XOS) ซึ่งเป็นอาหารเลี้ยงจุสินทรีย์จะช่วยเสริมให้จุลินทรีย์ดีในร่างกายแข็งแรง
2.กรดอะมิโน เช่น Arginine ซึ่งมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมเยื่อบุผนังลำไส้ที่ได้รับบาตเจ็บ และ Glutamine ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานภายในเชลล์เยื่อบุผนังลำไส้ ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์เยื่อบุผนังสำไส้จากความเครียดได้ Inulin
3.สังกะสี (Zinc) จากการศึกษาพบว่สังกะสีสามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผนีกระหว่างเชลล์ลำไส้และป้องกันความเสียหายของเยื่อบูผนังลำไส้ได้
4.ซีลีเนียม (Selenium) และวิตามินอี (Vitamin E) จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายที่มีความปลอดภัยสูง การศึกษาพบว่า ซีสีเนียมและวิตามินอีสามารถป้องกันการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการให้สารผ่านเข้าออกผนัง ลำไส้จากการถูกทำลายจากความเครียดและปฏิกิริยา oxidation ได้